ข้อที่1 ประเภทของคอมพิวเตอร์มี่ อะไรบ้าง
ประเภทคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์ เป็น 6 ประเภทดังนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer ) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer) และคอมพิวเตอร์เครือข่าย (network computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
super computer
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน
mainframe computer
2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น
mini computer
3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น
server computer
4. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ )
micro computer
5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
embeddeb computer
6. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
network computer
7. คอมพิวเตอร์เครือข่าย( network computer)เป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากไมโครคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดของอินเตอร์เนท คอมพิวเตอร์เครือข่ายหรือนิยมเรียกว่า NC จะถูก ออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราค่าต่ำ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อย ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานปริมาณมากๆ ในองค์การขนาดใหญ่ รวมทั้งผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เนตคอมพิวเตอร์เครือข่ายจะไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอยู่ในตัว การจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมจะอยู่ที่เครื่องศูนย์กลาง ซึ่งข้อดีคือ การเปลี่ยนรุ่น ซอฟต์แวร์ สามรถทำงานได้ง่าย สามารถทำงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายเครื่องใดก็ได้ รวมทั้งง่ายต่อการดูแลรักษาของผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์
แหล่งที่มา http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm
วันที่สืบค้น 28 มิถุนายน 2551
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 2 คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embeddded computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ ทำให้มองไม่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น เตาอบไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้แล้วหลายแห่ง เช่น
- ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มี 2 เครื่องสำหรับให้บริการมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยราชการต่าง ๆ
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี 1 เครื่อง สำหรับให้บริการทางด้านวิชาการ งานวิจัยต่าง ๆ
- กรมอุตุนิยมวิทยา มี 1 เครื่อง ใช้ในการพยากรณ์อากาศ
ฉะนั้นสรุปได้ว่า ข้อแตกต่างระหว่างไมโครคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่จะแตกต่างกันในด้านความสามารถในการเก็บข้อมูล และความเร็วในการทำงานเนื่องจาก มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมมีหน่วยความจำขนาดใหญ่เก็บข้อมูลได้ยาก และสามารถประมวลผลโปรแกรมที่มีความซับซ้อนในเวลาที่รวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถประมวลผลกับโปรแกรม หลาย ๆ โปรแกรมในเวลาพร้อมกันและผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ คนสามารถใช้เครื่องพร้อม ๆ กันเวลาเดียวกันได้
วันที่สืบค้น 28 มิถุนายน 2551
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 3 ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นเราควรรู้จักความหมายของข้อมูลและสารสนเทศกันก่อนนะครับ
ข้อมูล (data) ก็คือ ข้อเท็จจริงที่ได้รวบรวมจากเหตุการณ์ที่ปรากฎขึ้นจากการทำงานหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในลักษณะของรูปแบบต่างๆ จะเป็นในรูปของตัวเลข บทความ เสียง หรือภาพก็ได้ เช่น รายชื่อคณะกรรมการในองค์กรณ์ต่างๆ หรือเสียงสัมภาษณ์ของผู้เข้าสอบแข่งขันเป็นต้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้เป็นข้อมูลและนำมาผ่านการกลั่นกรองและประมวลผลแล้ว หรือข้อมูลที่ได้รับการจัดเรียงให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการศึกษาหรือทำความเข้าใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อาจออกมาในรูปแบบของข่าวสารทางโทรทัศน์หรือสื่อต่างๆ เพราะการประมวลผลข้อมูลไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตามทำให้ผู้รับข้อมูลไม่เกิดความสับสนนั่นเอง
สรุปง่ายๆ ข้อมูล เมื่อผ่านการประมวลผล จะอยู่ในรูปของสารสนเทศ นั่นเอง !
ข้อมูลโดยทั่วไปนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก แม้ว่าข้อมูลทุกรายการ จะมีความจำเป็น แต่ถ้าหากเราให้ข้อมูล ทุกรายการแก่ผู้รับ ก็ยังอาจจะทำให้ผู้รับ เกิดความสับสนได้ง่าย ยกตัวอย่าง เช่นถ้าหากนายแพทย์ ให้ข้อมูลทุกรายการ เกี่ยวกับผู้มาตรวจสุขภาพ โดยบอกตัวเลขเช่น ความดันโลหิต ชีพจร ระดับคลอเรสเตอรัล ระดับไตรกลีเซอไรน์ ระดับน้ำตาล ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ ก็อาจจะไม่มีความหมายใดๆ ต่อผู้รับมากนัก สู้บอกง่ายๆว่า "คุณมีสุขภาพแข็งแรง เป็นปกติดี" ไม่ได้ ข้อความที่นายแพทย์ แจ้งแก่ผู้มาตรวจสุขภาพ แบบนี้แหละ ที่ทางวงการคอมพิวเตอร์เรียกว่า สารสนเทศ หรือ information........
วันที่สืบค้น 28 มิถุนายน 2551
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 4 VLSI คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
วีแอลเอสไอ <คำอ่าน>ย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) หมายถึงการสร้างชิป (chip) โดยสามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ในปัจจุบัน มีการสร้างชิปที่มีประตูมากยิ่งไป กว่านั้น เรียกว่า ULSI ( ultra large scale integraton หรือวงจรรวมความจุสูงยิ่ง)
ประโยชน์ของVLSI คือ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงมาก
แหล่งที่มา http://dictionary.thaieasyjob.com/dictionary.php?word=large%20scale%20integration&type=2&code=
วันที่สืบค้น 28 มิถุนายน 2551
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 5 คุณใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
- ใช้ในการหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานส่งอาจารย์
- เล่น internet ทั่ว ๆ ไป
- ดูหนัง ฟังเพลง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------